วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

เราต้องการผู้นำแบบไหน?

โดย : รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์

     คำถามหนึ่งที่สำคัญในเชิงวิชาการเกี่ยวกับภาวะผู้นำก็คือเรา หรือ ประชาชน หรือ บุคลากรในองค์กรนั้นต้องการผู้นำแบบไหน? มีทฤษฎีอยู่ 2 แนวทางที่สำคัญครับ

ทฤษฎีแรก เราต้องการผู้นำที่เหมือนกับเรา เป็นตัวแทนของพวกเรา การมีผู้นำที่เป็นตัวแทนของคนในองค์กร ทำให้มีความรู้สึกว่าคนที่จะเป็นผู้นำนั้นจะคิดเหมือนกับคนส่วนใหญ่ และจะปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ผู้นำประเภทนี้ถ้าทำตัวดีก็จะทำให้ผู้ตามหรือคนในองค์กรชื่นชอบ ภักดี รู้สึกเกี่ยวพันและเกี่ยวข้องด้วย

กับอีกทฤษฎีหนึ่ง นั้นบอกว่าคนในองค์กรต้องการผู้นำที่เก่ง โดดเด่น มากกว่าผู้นำที่เป็นตัวแทนคนในองค์กร ภายใต้ทฤษฎีนี้คนในองค์กรต้องการผู้นำที่กล้าที่จะคิด มีวิสัยทัศน์ กล้าที่จะนำพาองค์กรไปในทิศทางใหม่ๆ เป็นผู้นำที่กล้าเสี่ยงและกล้าที่จะคิดในสิ่งใหม่ๆ ผู้นำประเภทนี้อาจจะไม่สามารถที่จะเข้ากับคนในองค์กร หรือทำตัวเหมือนกับคนในองค์กร
สองแนวคิดดังกล่าวถือว่าน่าคิดและน่าสนใจนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤตดังเช่นในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือในองค์กรเราต้องการผู้นำแบบไหน? ผู้นำที่เป็นตัวแทนคนในองค์กร เข้ากันได้ดีกับคนในองค์กร หรือ ต้องการผู้นำที่อาจจะไม่ได้เป็นตัวแทนคนในองค์กร แต่คิดและมุ่งไปในอนาคต

ก่อนที่จะเฉลยจากงานวิจัย ท่านผู้อ่านลองหาคำตอบเองดูนะครับว่าท่านผู้อ่านเองต้องการผู้นำแบบไหน?

   จากงานวิจัยกว่า 5 ชิ้น พบว่าผู้ตอบส่วนใหญ่ต้องการผู้นำที่เป็น Visionary Leader หรือ ผู้นำที่มองไปในอนาคต เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มากกว่าผู้นำที่เป็น Representative Leader หรือผู้นำที่เป็นตัวแทนคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เป็นวิกฤต หรือ Crisis นั้น ดูเหมือนผลการวิจัยชี้ออกมาอย่างชัดเจนเลยครับว่า ผู้นำที่เป็น Visionary นั้นเป็นที่ต้องการของคนในองค์กรมากกว่าผู้นำที่เป็นเพียงแค่ตัวแทนของคนหมู่มาก

   ผลการวิจัยต่างๆ ชี้ไปในทิศเดียวกันหมดเลยครับ ว่าผู้นำที่เป็น Visionary นั้นจะทำให้ผู้ตามมีความมุ่งมั่น ทำให้ผู้ตามรู้สึกถึงความเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่ม และพร้อมที่จะทำงานร่วมกัน อีกทั้งยังทำให้ความรู้สึกหวาดกลัวหรือหมดหวังของผู้ตามลดลงด้วย สุดท้ายผู้ตามจะมีความรู้สึกว่าการทำงานภายใต้ผู้นำที่เป็น Visionary นั้นจะประสบผลสำเร็จมากกว่า

 ก็ต้องถือว่าเป็นคำถามวิจัยและผลการวิจัยที่น่าสนใจนะครับ เนื่องจากโดยปกติถ้าเราสามารถเลือกผู้นำได้ เรามักจะคิดถึงแต่ผู้นำที่มีลักษณะเหมือนกับเรา หรือ สามารถเป็นตัวแทนให้เราได้ แต่ผู้นำที่เป็นตัวแทนนั้น ในสถานการณ์ทั่วไป หรือแม้กระทั่งสถานการณ์วิกฤตอาจจะไม่เหมาะสมเท่ากับผู้นำที่อาจจะไม่ได้เป็นตัวแทนของคนในองค์กร แต่สามารถชี้นำองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและก้าวไปข้างหน้าได้
        ย้อนกลับมาดูในบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นระดับประเทศ หรือระดับองค์กรส่วนใหญ่เรามักจะต้องการผู้นำที่เป็นตัวแทนของเราได้ แต่สุดท้ายแล้วผู้นำดังกล่าวอาจจะไม่สามารถนำองค์กรฝ่าฟันวิกฤตที่เกิดขึ้นได้
     อย่างไรก็ดีในความเห็นส่วนตัวแล้ว ถ้าเราสามารถได้ผู้นำที่มีทั้งสองคุณลักษณะผสมผสานกัน ต้องถือว่าเยี่ยมสุดแล้วครับ นั้นคือเป็นทั้งผู้นำที่เป็นตัวแทนคนในองค์กร และผู้นำที่เป็น Visionary ครับ

โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์  20 มกราคม 2555





วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

หลักการพูด หลักการคิด การปฏิบัติตน

หลัก สี่ ต.
ต. ที่หนึ่ง ตั้งเป้า คือการตั้งเป้าหมาย เป้าหมายที่จะทำ เป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึง.
ต. ที่สอง ตั้งต้น คือการเริ่มต้น เริ่มที่จะคิด เริ่มที่จะทำ ไม่พลัดวันไปเรื่อยๆ.
ต. ที่สาม ตั้งใจ คือการมุ่งมั่น ตั้งใจ มุมานะ มุ่งไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งไว้.
ต. ที่สี่ ตั้งมั่น คือการยึดมั่น ยืนหยัดในสิ่งที่ตนเองกระทำ
     โดยไม่หวั่นไหวต่อเหตุการณ์และปัญหาต่างๆ
      ต่อสู้จนประสบความสำเร็จ.

การมองเห็น
  เห็นด้วยตา        เรียกว่า พบเห็น
  เห็นด้วยใจ        เรียกว่า  คิดเห็น
  เห็นด้วยปัญญา เรียกว่า  รู้เห็นตามความเป็นจริง

การพูด
  พูดแล้ว คนชอบ
  พูดแล้ว คนเชื่อ
  พูดแล้ว คนช่วย

การปฏิบัติตน
  ถึงคราวอ่อน อ่อนเป็นดั่งเส้นไหม
  จะได้ใช้ผูกพยัคฆ์ แล้วโยงเฆี่ยน
  ถึงคราวแข็ง แข็งเป็นเช่นวิเชียร
  จะได้เจียรเจาะมณี ที่ต้องการ.

ถ้าเราเล่นพวก ก็จะเสียความรัก
ถ้าเราเล่นพรรค ก็จะเสียความสามัคคี
ถ้าเราเล่นทั้งพรรคทั้งพวก
ก็จะเสียท้้งความรักและความสามัคคี.

"อยู่อย่างมีปัญญา ยอมอย่างมีเหตุผล อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ใหญ่อย่างมีประโยชน์ อย่าหยิ่ง ยิ้มแย้ม
เยือกเย็น ยืดหยุ่น เยี่ยมเยียน หยิบยื่น ยกย่อง ใครทำได้ย่อม ยอดเยี่ยมและยิ่งใหญ่"

หนังสือธรรมของ  พระเทพบัณฑิต  เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย  จ.ร้อยเอ็ด 

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

9 วรรคทอง ของ สตีฟ จ๊อบส์

1. นวัตกรรมทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างผู้นำ และผู้ตาม
2. จงเป็นคนที่มีคุณภาพสูง แล้วสิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นในชีวิต
3. มีวิธีเดียวที่จะทำงานให้ได้ผลดีเยี่ยม ก็คือ คุณจะต้องรักในสิ่งที่ทำ
4. อาหารและเสื้อผ้า ส่วนใหญ่ที่เรากินและใช้ เราไม่ได้ผลิตด้วยต้วเราเอง เราจะรู้สึกปลาบปลื้มอย่างยิ่ง ที่สามารถสร้างสรรค์ บางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
5. จิตที่มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริงในพุทธศาสนา เป็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรมี
6. โดยทั่วไปแล้วคุณดูโทรท้ศน์เพื่อพักสมอง และคุณใช้คอมพิวเตอร์เมื่อต้องการให้สมองทำงาน
7. ผมสูญเงินไป 250 ล้านดอลลาร์ ภายใน 1 ปี ทำให้ผมรู้จักตนเองดีขึ้น
8. มีหลายสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จในชีวิตนี้
9. เวลาของคุณมีจำกัด จงอย่าเสียเวลาใช้ชีวิตตามแบบคนอื่น
                                                                                                         
จากนิตยสาร Taste Januauy, 2012
*******************

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

มงคลชีวิต ๓๘ ประการ

    มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่


๑. การไม่คบคนพาล ๒. การคบบัญฑิต ๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร ๕. เคยทำบุญมาก่อน ๖. การตั้งตนชอบ

๗. ความเป็นพหูสูต ๘. การรอบรู้ในศิลปะ ๙. มีวินัยที่ดี

๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต ๑๑.การบำรุงบิดามารดา ๑๒.การสงเคราะห์บุตร

๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา ๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง ๑๕.การให้ทาน

๑๖.การประพฤติธรรม ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ

๑๙.ละเว้นจากบาป ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

๒๒.มีความเคารพ ๒๓.มีความถ่อมตน ๒๔.มีความสันโดษ

๒๕.มีความกตัญญู ๒๖.การฟังธรรมตามกาล ๒๗.มีความอดทน

๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย ๒๙.การได้เห็นสมณะ ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล

๓๑.การบำเพ็ญตบะ ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์ ๓๓.การเห็นอริยสัจ

๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก

๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส ๓๘.มีจิตเกษม

*****************

มองโลกในแง่ดี ปล่อยวาง อย่าง ตา กับ ยาย

ปีใหม่ 2555 ผมได้มีโอกาสทำบุญ ตักบาตร และ ฟังธรรมจาก พระมหาเฉลิม ปิยทสฺสี วัดชลประทานปัญญานันทาราม ชอบนิทาน เรื่อง ตา กับ ยาย จึงขอบันทึกไว้ไว้เล่าสู่กันฟัง ดังนี้
  " ตา กับ ยาย อยู่ด้วยกันสองคน ตาดูจะแข็งแรงกว่ายาย แต่ ความทรงจำ กลับสั้นลง สวนทางกับอายุที่เพิ่มขึ้น วันหนึ่ง ยายอยากกินลิ้นจี่กระป๋องบอกตาให้ไปช่วยเปิดลิ้นจี่กระป๋องในตู้เย็นให้หน่อยเถอะ ตาบอกได้เลย ระหว่างเดินไปหยิบลิ้นจี่กระป๋องในตู้เย็น ตาก็แวะเข้าห้องน้ำเสียหน่อย เมื่อทำธุรเสร็จ ตาเกิดนึกไม่ออกเสียแล้วว่ายายสั่งให้ทำอะไร นึกไปนึกมา ก็คิดว่ายายคงจะหิวข้าวเหมือนเช่นเคย  ว่าแล้วก็เดินไปในครัว จัดการทำข้าวผัดหมูไม่ใส่ไข่ ให้ยาย   ตาหายเข้าไปในครัวเป็นนาน ก็เดินกลับออกมาหายายพร้อมข้าวผัดหมูรัอนๆ .... ยายเห็น ก็นึกแปลกใจอยู่ แต่แล้วก็อมยิ้ม ขอบคุณนะตา แต่ถ้าใส่ไข่ด้วยก็จะดีนะตา....
   นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า .......สิ่งใดที่ผู้ทำให้เราด้วยความมุ่งหว้ง ต้้งใจดี ถึงแม้จะผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากวัตถุประสงค์ ความต้องการของเราไปบ้าง อ้นเนื่องด้วยการสื่อสารข้อความ หรือ เหตุแห่งความไม่พร้อมในด้านต่างๆ ของเขาเหล่านั้น เราก็ควรคิดพิจารณาให้รอบด้าน ให้โอกาส ให้กำลังใจ มองโลกในแง่ดี เพื่อให้เขาเหล่านั้น สู้ชีวิตต่อไป ด้วยใจที่เป็นสุข...
(ผมสรุปเองครับ)

  พระมหาเฉลิม ปิยทสฺสี ได้ฝากหลักธรรมไว้เพื่อใช้ในการดำเนินชีวิต 3 ประการ คือ
1. ปัญญา
2. ตะบะ  บำเพ็ญตบะ หมายถึง การทำความเพียรเผาผลาญความชั่ว
3. สำรวม กาย วาจา ใจ
4. สละ ละวาง
           
*********************